เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 เวลา 11.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สานนท์ ด่านภักดี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิร่วมกับ 5 หน่วยงาน ผู้ประกอบการประธาน ปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิ ประธาน SMEs และวิสาหกิจจังหวัดชัยภูมิ ประมงจังหวัดชัยภูมิ เกษตรจังหวัดชัยภูมิ พัฒนาการจังหวัดชัยภูมิ และ 3 กลุ่ม ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ปลาส้ม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์หม่ำ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ประธานกลุ่มผู้ปลูกสับปะรด อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษาและศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิจัด โครงการนำร่องเพื่อขับ เคลื่อน”โครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง”  หรือ “Reinventing   University”               โดยมุ่งเน้นการสร้างระบบการเรียนรู้ใหม่ที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่เหมาะสมกับความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคตโดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพและต่อยอดการตลาดชุมชนสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับโลก โดยการพัฒนาหลักสูตรระยะสั่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงของตลาดในยุคเทคโนโลยีแพทฟอร์มออนไลน์ นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะสูงเพื่อให้สามารถรองรับการ เปลี่ยนแปลงของภาค อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจในอนาคตได้ภายใต้โครงการนำร่องนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิได้จัดกิจกรรมหลายประเภท เช่น การปรับปรุง หลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการพัฒนาทางด้าน เทคโนโลยี โดยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานของรัฐ และผู้นำชุมชนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาด้านการเรียนการสอน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและนักศึกษาโดยการฝึกอบรมและการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคอุตสาหกรรมในท้องถิ่นและระดับประเทศ เพื่อ สร้างทักษะที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐ และภาคอุตสาหกรรม เพื่อ สร้างระบบการทำงานที่สอดประสานกันในการพัฒนากำลังคนและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมสมัยใหม่ การจัดโครงการนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพสูงและสามารถผลิตบัณฑิตและผู้ประกอบการด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์   (Creative Economy)ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมและนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นและการถอดบทเรียนจากการพัฒนากำลังคนในรูปการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มมูลค่าเชิงพื้นที่ตามแนวคิด BCG การพัฒนาหลักสูตรร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและเพื่อใช้ผลงานวิจัยและเทคโนโลยี สร้างสรรค์สร้างองค์ความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา โดยการจัด เวทีเสวนา “ทิศทางการขับเคลื่อนพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง   (Reinventing University)” การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่สำหรับสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการจัดทำหลักสูตรระยะสั้น การผลิตการแปรรูป และการตลาด “หม่ำ ปลาส้ม สับปะรด”เพื่อให้เกิดหลักสูตรการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับบัณฑิตและผู้ประกอบการในพื้นที่ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับ การพัฒนา เป็นหลักสูตรที่รองรับหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Lope Learning) การเรียนการสอนแบบสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) และ (Re skill / Up skill / New skill) ณ ห้องประชุมชั้น 9 อาคารเรียนรวม 9 ชั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ       ##ภาพ/ข่าว นายวีระชัย พรประภา ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ชัยภูมิรายงาน