((POLICE NEWS update PLUS))…โครงการอบรมอาสาจราจร เสริมสร้างวินัยจราจร ร่วมกับ บริษัท Doing Well

๑.ชื่อโครงการ โครงการอบรมอาสาจราจร เสริมสร้างวินัยจราจรร่วมกับ บริษัท Doing well

ประจำปีงบประมาณ ๒๕62

๒.หน่วยงานรับผิดชอบ งานจราจร สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข และบริษัท Doing well

๓.หลักการและเหตุผล

กองบังคับการตำรวจนครบาล 4 และสถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข มีภารกิจในการรักษา

ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนรวมถึงการอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยในด้านการจราจรให้แก่ประชาชน ประกอบกับในปัจจุบันมีสถิติอุบัติเหตุทางจราจรเกิดขึ้น เป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากความประมาท และไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนน ดังนั้น การเสริมสร้างวินัยจราจรจะเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชน เพื่อลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุจราจร ที่จะเกิดขึ้น และตระหนักถึงการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร ป้ายสัญญาณจราจร และการจอดรถในพื้นเหมาะสม รวมถึงตระหนักถึงความไม่ประมาทในการใช้รถ

ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนรวมถึงการอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยในด้านการจราจรให้แก่ประชาชน ประกอบกับในปัจจุบันมีสถิติอุบัติเหตุทางจราจรเกิดขึ้น เป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากความประมาท และไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนน ดังนั้น การเสริมสร้างวินัยจราจรจะเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชน เพื่อลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุจราจร ที่จะเกิดขึ้น และตระหนักถึงการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร ป้ายสัญญาณจราจร และการจอดรถในพื้นเหมาะสม รวมถึงตระหนักถึงความไม่ประมาทในการใช้รถ

สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข ได้จัดทำ“โครงการอบรมอาสาจราจร เสริมสร้างวินัยจราจร ร่วมกับ บริษัท Doing well” ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้มีจิตสำนึกในการเคารพกฎจราจรตามที่ได้รับความรู้จากโครงการนี้ และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ตระหนักถึงความสำคัญของวินัยจราจรเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยส่วนรวม ทั้งนี้ได้มีการยึดถือบทบัญญัติทางกฎหมายและแผนต่างๆ ที่กำหนดกรอบเป็นแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

๓.๑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่๕) พ.ศ.๒๕๔๕ กำหนดให้การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจ

๓.๒ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๗ กำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ ตามความเหมาะสมม

๓.๔ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพของประชาชนเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายให้เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ

  • 2 จากบทบัญญัติทางกฎหมาย และแผนต่างๆที่เกี่ยวข้องดังกล่าว งานจราจร สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข จึงจัดให้มีการอบรมประชาชนที่มีใจสมัครต้องการช่วยงานจราจร เพื่อสร้างกลไกลภาคประชาชนเชื่อมประสานการปฏิบัติงานตำรวจแบบมีส่วนร่วม โดยคาดหวังถึงผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจในงานจราจรเพื่อให้นำมาซึ่งความเป็นระเบียบและเกิดประโยชน์สุขกับประชาชนในสังคมส่วนรวมต่อไป

๔. วัตถุประสงค์

๔.๑ เพื่อดำเนินกลยุทธด้านงานจราจร โดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรกับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป

๔.๒ เพื่อปลุกกระแสความคิด และส่งเสริมบทบาทให้ภาคประชาชน ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการรับรู้และเป็นเจ้าของปัญหา ตามหลักการ 5 ร่วม ซึ่งจะก่อให้เกิดความตระหนักที่จะ ร่วมคิด ,ร่วมทำร่วมตัดสินใจ,ร่วมประเมินผล และร่วมปรับปรุงเสนอแนะ ต่อวิธีการแก้ไขปัญหาในสังคม

๔.๓ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจราจรให้สะดวกคล่องตัวยิ่งขึ้น และจะส่งผลให้อุบัติเหตุจราจร ในท้องถนนลดลง

๔.๔ เพื่อให้รู้ถึงอำนาจหน้าที่ของอาสาจราจรในการปฏิบัติหน้าที่ตลอดจนอำนาจ และขอบเขตของผู้ช่วยเจ้าพนักงานจราจร

4.5 เป็นเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร ในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข เป็นผู้ควบคุม

4.6 เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นอาสาจราจร

4.7 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายจราจร

๕. เป้าหมาย

5.1 ประชาชน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง

5.2 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย บริษัท Doing well

๖. ระยะเวลาดำเนินการ สถานที่ อบรม

ระหว่างวันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2561 ณ สถานฝึกอบรมหลักสูตรรักษาความปลอดภัยบริษัท Doing well เลขที่ 368 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร

๗. แนวทางการดำเนินการ

๗.๑ จัดทำโครงการและเสนอขออนุมัติ

๗.๒ จัดทำหนังสือเชิญกุล่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตพื้นที่รับผิดชอบเข้ารับการอบรม

  • 3 ๗.๓ ประสานสถานที่ฝึกอบรมและวิทยากร

๗.๔ ประสาน บริษัท Doing well

๗.๕ ดำเนินการฝึกอบรมตามโครงการ

๘. งบประมาณ

ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท Doing well

๙.ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๙.๑ สามารถสร้างโอกาสและบทบาทให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยงานจราจร

๙.๒ สามารถสร้างแนวร่วมภาคประชาชนดำเนินกลยุทธด้านการจราจร และเปลี่ยนแนวคิดการแก้ไขปัญหาการจราจรที่ปลายเหตุเป็นวิธีการป้องกันซึ่งจะทำให้ระบบการแก้ไขปัญหาการจราจรในแต่ละพื้นที่เป็นไปอย่างยั่งยืน

๙.๓ เกิดกลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ จากการรวมพลังภาคประชาชนในงานจราจรของตำรวจอย่างกว้างขวาง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกันได้อย่างมีระสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เกิดภาพลักษณ์การทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรกับประชาชนที่เข้มแข็ง##ภาพข่าวโดยDit news##


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *